วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

การวิจัยตลาด

คำว่า การวิจัยตลาด เมื่อศึกษาจากเอกสารประกอบรายวิชาทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ DBA 702 โดย ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ "การรวบรวม บันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของสินค้าและบริการอย่างมีระเบียบ แบบแผน"

โดยการวิจัยทางการตลาดนั้น แบ่งออกเป็นทั้งสิ้น 5 ประเภท ดังนี้
1. การวิจัยผู้บริโภค คือ การศึกษาความต้องการ วัตถุประสงค์ และพฤติกรรมทั้งก่อน ระหว่าง และหลังซื้อสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อครอบคลุมไปถึงผู้ใช้งาน
2. การวิจัยผลิตภัณฑ์ คือ การศึกษาองค์ประกอบ รวมถึงทัศนะมิติด้านต่างๆของสินค้าและบริการ เพื่อนำเอามาพัฒนาให้สินค้าและบริการมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
3. การวิจัยราคา คือ การศึกษาเพื่อหาความสอดคล้องของต้นทุนในการผลิตที่จะส่งผลไปยังการตั้งราคาขายไปยังลูกค้า เพื่ออยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อหาได้
4. การวิจัยโฆษณา คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของการทำการโฆษณาให้ส่งผล หรือสร้างแรงกระตุ้นต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นทางเนื้อหา จำนวนความถี่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นของผู้ชม รวมถึงผลการทำงานของโฆษณาที่ทำการเผยแพร่ไปแล้ว
5. การวิจัยการขาย คือ การศึกษาวิธีการ ช่องทาง ในการทำการขายสินค้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการวิเคราะห์ผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบในการขายสินค้าได้อีกด้วย

ขั้นตอนของการวิจัยตลาดนั้น ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ โดยการหาปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการตลาด และต้องเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ชัดเจน มีขอบเขตที่แน่ชัด เพื่อนำมากำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานวิจัย
2. การจัดเตรียมและออกแบบการวิจัย คือ การวางแผนการทำงานวิจัย ให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยเพื่อให้ได้ผลของแนวทางการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและตรงจุด ทั้งนี้ประเภทของงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางคือ 1)วิจัยเชิงสำรวจ 2)วิจัยเชิงพรรณ 3)วิจัยเชิงเหตุผล
3. การรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบข้อมูล ดังนี้
3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บเป็นครั้งแรก เพื่อใช้ในงานวิจัยของเราโดยเฉพาะ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลองตัวแปร การเก็บแบบสอบถาม
3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว อาทิเช่น เอกสารต่างๆ หรือผลการวิจัยในครั้งก่อนๆ
4. การประมวลผล และการแปรความหมายข้อมูล มีขั้นตอนอย่างง่าย ดังนี้
1) ตรวจสอบข้อมูล 2)แบ่งหมวดหมู่ข้อมูล 3) ลงรหัสข้อมูล 4)จัดข้อมูลเข้าตาราง
5. การจัดเตรียมรายงานและการนำเสนอ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ นำเสนอด้วยปากเปล่า หรือนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร
6. การติดตามผลงานวิจัย คือ หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด ควรมีการผลตามผลงานวิจัยว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องตามวัตถุประสงค์งานวิจัยหรือไม่ อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น