วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

Organizational Buying Behavior

Title: Industrial Buying as Organizational Behavior: A Guideline for Research Strategy
Author: Wind, Yoram / Webster Jr., Frederick E.
Source: Journal of Purchasing. Aug 72, Vol. 8 Issue 3, p5-16. 12p. 2 Diagrams.


จากโมเดลข้างต้น เมื่อพิจารณาย้อนกลับไปจากผลลัพธ์สุดท้าย พบว่าปัจจัยในการตัดสินใจซื้อขององค์กรมีที่มาจากกระบวนการในการตัดสินใจซื้อ (Buying decision process) ซึ่งเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.      การตัดสินใจส่วนบุคคล
2.      การตัดสินใจเชิงกลุ่ม โดยคณะทำงานภายในองค์กรซึ่งมีอิทธิพลมาจากสามปัจจัยหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลมาถึงองค์กร และฝ่ายจัดซื้อขององค์กร

โดยที่ 2 ปัจจัยหลักข้างต้นได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัย 4 อย่าง ดังต่อไปนี้
I.        ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ) ซึ่งเป็นทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางเทคโนโลยี ทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางกฎหมายและทางวัฒนธรรม ที่มีผลต่อตัวผู้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปยังปัจจัยข้อที่ II
II.      ปัจจัยจากองค์กร (ปัจจัยทางองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ) ที่เป็นสภาพแวดล้อมภายในองค์กรเอง ไปมีอิทธิพลโดยตรงต่อฝ่ายจัดซื้อขององค์กรในปัจจัยข้อที่ III
III.    ปัจจัยจากฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ปัจจัยระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ) ทั้งที่เป็นส่วนการจัดซื้อที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง และส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการในการซื้อขององค์กร
IV.   ในขณะเดียวกันการตัดสินใจของแต่ละบุคคลตามปัจจัยในข้อ IV ซึ่งเกิดจากแรงจูงใจ โครงสร้างทางความคิดหรือกระบวนการรับรู้ บุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล กระบวนการเรียนรู้ บทบาทที่ได้รับ

Title: Influencing the Human Elements: The Industrial Branding Rationale
Author: Mukherjee, Somnath; Shivani, S. Vidwat
Source: The Indian Journal of Management. Jul-Dec2011, Vol. 4 Issue 2, p9-13. 5p. 2 Diagrams



จากการศึกษาโมเดลพฤติกรรมการซื้อภาคอุตสาหกรรมของเชธข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่าประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1.       จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของบุคคล
2.       เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
3.       เมื่อกระบวนการซื้อมาถึงการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้น เชธแสดงให้เห็นถึงปัจจัยของสถานการณ์ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ต้องงเลือกผู้จำหน่ายหรือแบรนด์
ทั้งนี้ สามารถขยายความในแต่ละองค์ประกอบเพิ่มเติมได้ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ 1 ลักษณะทางจิตวิทยา คือ แนวคิดเกี่ยวการคาดหวัง ซึ่งได้กำหนดว่าทัศนคติที่มีต่อผู้จำหน่ายหรือแบรนด์ที่ตอบสนองความพึงพอใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ต้องการซื้อ เพราะว่าแต่ละบุคคลอันประกอบไปด้วย ตัวแทนฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Agents) วิศวกร (Engineers) ผู้ใช้งาน (User) และ อื่นๆ (others)
โดยปัจจัยในขั้นตอนการจัดซื้อนี้ จะเปิดจากภูมิหลังของแต่ละบุคคล (Background of the individual) ที่แตกต่าง แหล่งข้อมูลที่ได้รับมาที่ไม่เหมือนกัน (Information Sources) การรับรู้อาจบิดเบือน (Perceptual distortion) และความพอใจกับการซื้อ (Satisfaction with purchase)

องค์ประกอบที่ 2 การร่วมตัดสินใจ (Joint Decision Making):  เชธได้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจของบุคคล (Autonomous decision) กับการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่ม (Joint Decision) ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยความเฉพาะเจาะจงของสินค้า
-         ด้วยระยะเวลาที่จำกัด (Time pressure)
-         ด้วยความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Perceived Risk)
-         ด้วยลักษณะของการจัดซื้อ (Type of purchase)
ปัจจัยเฉพาะเจาะจงของบริษัท (Company-specific factors) เช่น ลักษณะขององค์กร ขนาดขององค์กรและระดับการมอบอำนาจการซื้อตามโมเดล การซื้อที่ไม่เป็นไปตามปกติ ด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า และมีข้อจำกัดทางเวลาที่น้อยลง ซึ่งปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อการร่วมตัดสินใจ

องค์ประกอบที่ 3 ความคิดเห็นที่แตกต่าง (Conflict Resolution) กระบวนการที่มีความคิดที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจร่วมเพื่อเป้าหมาย ทัศนคติ ระบบคุณค่า ที่หลากหลายจากการติดตามผลความสำเร็จในระยะแรก รวมถึงจำแนกความต้องการ รวบรวมข้อมูลการประเมินผู้จัดจำหน่าย ผู้มีอำนาจการตัดสินใจร่วมจะเข้ามามีบทบาทในการยุติ ความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อหาข้อสรุปด้วยหลักการที่มีเหตุผลในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยการหาข้อมูล การใช้ความรอบคอบ และการโน้มน้าวที่จะลดข้อขัดแย้ง โดยพิจารณาถึงภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก

Title: Influencing the Human Elements: The industrial Branding Rationale
Author: Prof. Somnath Mukherjee and Dr. S shivani.
Source:  Sheth, 1973


ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
1.       จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของบุคคล ประกอบไปด้วยบุคล 3 กลุ่มได้แก่ ตัวแทนฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Agents)  วิศวกร (Engineers) ผู้ใช้งาน(User) อื่นๆ(othres) โดยเป็นไปตามภูมิหลังของแต่ละบุคคล
2.       เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ กดดันเรื่องระยะเวลา(Time pressure) การยอมรับความเสี่ยง (Perceived Risk)   ประเภทการซื้อ (Type of purchase) และ ปัจจัยเฉพาะเจาะจงของบริษัท(Company-specific Factors) ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะขององค์กร ขนาดขององค์กรและระดับการมอบอำนาจการซื้อตามโมเดล ซึ่งปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อการร่วมตัดสินใจ
3.       เมื่อกระบวนการซื้อมาถึงการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงปัจจัยของสถานการณ์ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ต้องเลือกผู้จำหน่ายหรือแบรนด์ อันเกิดจากผู้มีอำนาจจะเป็นผู้ที่เข้ามาตัดสิน หรือพูดคุยเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น