วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการทางการตลาด (Marketing Management)

จากครั้งที่แล้วที่ผมได้พูดถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดไปแล้ว ผมได้ทิ้งท้ายไว้ถึงเรื่องของการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดไป ในครั้งนี้ผมจะขออนุญาตจูงประเด็นเข้ามาสู่เรื่องของจัดการทางการตลาดให้ได้อ่านกันนะครับ

คำว่า "การจัดการทางการตลาด" นั้นหมายถึงการวางแผนแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการหาแนวทางเพื่อเอาชนะคู่แข่งภายใต้เงื่อนไขหรือปัจจัยท้ังภายในและภายนอกของผู้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนหลัก อันได้แก่
  1. การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
  2. การปฏิบัติการ
  3. การควบคุมทางการตลาด  
ในขั้นตอนแรกเราจะต้องทำการศึกษาสภาพของทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจเสียก่อน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อยอดนิยมทางการตลาดว่า"SWOT Analysis" แล้วจึงนำเอาประเด็นที่มีความสำคัญอันดับ 1-3 ของแต่ละหัวข้อมาทำการวิเคราะห์โดยจับคู่ออกมาเป็นตารางกลยุทธ์ ภายใต้ชื่อว่า "TOWS Matrix" ดังนี้

  • S + O = Max - Max (กลยุทธ์ที่อาศัยความเข้มแข็งภายในธุรกิจและสภาพปัจจัยภายนอกที่ส่งผลดีต่อธุรกิจมาเป็นแนวทางการทำธุรกิจ)
  • W + O = Min - Max (กลยุทธ์ที่ใช้ปัจจัยภายนอกเชิงบวก มาเป็นส่วนช่วยผลักดันหรือแก้ปัญหาจุดอ่อนของธุรกิจ)
  • S + T = Max - Min (กลยุทธ์ที่นำเอาจุดแข็งของธุรกิมาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาวะภายนอกของธุรกิจ)
  • W + T = Min - Min (กลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจลดจุดอ่อนของตน และเลี่ยงปัญหาจากภายนอก)
เมื่อทำการสร้าง TOWS Matrix แล้วจึงจะสามารถระบุได้ว่า สภาวะการณ์ของธุรกิจในขณะนั้นต้องการกลยุทธ์กลยุทธ์ใดในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเข็มแข็งหรือรายรับที่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
  • กลยุทธ์การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดนั้น มันจะถูกกำหนดโดย"ผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กร" ซึ่งจะต้องมีทั้งการวางแผนระยะยาวและการวางแผนระบะสั้น โดยกลยุทธ์รูปแบบนี้จะให้ความสำคัญหรือมุ่งเน้นที่การตอบความต้องการของลูกค้าเป็นหลัด ทั้งนี้กลยุทธ์การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ประกอบไปด้วย 4 แนวทางในการดำเนินงาน
    • กลยุทธ์การเจริญเติบโดตแบบคงที่
    • กลยุทธ์การเจริญเติบโต
      • เน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในสินค้าหรือบริการตัวใดตัวหนึ่ง
      • เน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในกลุ่มของสินค้าหรือบริการเฉพาะ
      • การรวมธุรกิจตามแนวดิ่ง (Vertical Integration) คือ การควบรวมของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต จัดเก็บ ไปจนถึงการกระจายสินค้าเพื่อลดปัญหาที่เกิดจากพ่อค้าคนกลาง
        • การรวมธุรกิจไปข้างหน้า (Forward Integration) คือ การที่ผู้ผลิตลงมาจัดจำหน่ายสินค้าเอง เช่น แต่เดิม CP ก็ผลิตเนื้อไก่สดส่งไปยังโรงงานแปรรูปอื่นๆ แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า CP เองก็มาเปิดร้าน CP Fresh Mart อยู่ตามแหล่งชุมชนต่างๆ
        • การรวมธุรกิจไปข้างหลัง (Backward Integration) คือ การที่ผู้ผลิตสินค้าหลายๆรายกลับไปย้อนผลิตสินค้าทุนที่ใช้ในการทำสินค้าบริโภคด้วยตนเอง เช่น ส.ขอนแก่น แต่เดิมขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปจากหมู ก็กลับไปทำฟาร์มหมูเลยเสียเอง
      • การกระจายธุรกิจ (Business Diversification)
        • การกระจายธุรกิจแนวนอน (Horizontal Diversification) คือ การที่ผู้ผลิตสินค้าทำการขยายกลุ่มของสินค้าของตนเองเพิ่มขึ้น โดยมีพื้นฐานจากสินค้าเดิมที่ตนเองขายอยู่แล้ว เช่น CC-OO แต่เดิมที่เป็นผู้ขายเสื้อผ้า ก็ทำการขยายพื้นที่ตลาดด้วยสินค้าประเภทเครื่องแต่งการไปยังสินค้าอื่นในแง่มุมของสินค้าแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าผู้ชาย เครื่องประดับ น้ำหอม
        • การกระจายธุรกิจแบบรวมกลุ่ม (Conglomerate Diversification) คือ การที่ผู้ผลิตรายเดิมทำการจับมือรวมกันกับคู่แข่งหรือคู่ค้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจของตน เช่น BEC Tero ศาสนทำการจับมือกับกลุ่ม True Vision เพื่อทำการถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีค
    • กลยุทธ์ตกต่ำ ประกอบไปด้วย 4 แนวทาง ดังนี้
      • กลยุทธ์ความเป็นผู้นำ
      • กลยุทธ์ตลาดเฉพาะ
      • กลยุทธ์การเก็บเกี่ยวผลผลิต
      • กลยุทธ์เลิกกิจการ
    • กลยุทธ์แบบถดถอย ประกอบไปด้วย 3 แนวทาง ดังนี้
      • กลยุทธ์ย้อนกลับ
      • กลยุทธ์ลดการลงทุน
      • กลยุทธ์การชำระสะสางหนี้สิน
    • กลยุทธ์การได้เปรียบเชิงการแข่งขัน คือ การกำหนดแนวทางของการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตาม พันธะกิจและวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยแนวทางนี้จะมี "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ" มาเป็นผู้กำหนด เพื่อมุ่งเน้นความสำคัญของสภาพการแข่งขันเป็นหลัก ประกอบไปด้วย 3 แนวทางย่อย ดังนี้
      • การเป็นผู้นำด้านต้นทุน คือ การวางแผนเพื่อให้ตนเองได้เป็นผู้มีความได้เปรียบจากต้นทุนทั้งในส่วนของการผลิตและการจัดส่งสินค้าของธุรกิจ ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
      • การสร้างความแตกต่าง คือ การมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการ
      • การจำกัดขอบเขตที่น่าสนใจ คือ การมุ่งเน้นความต้องการเฉพาะของตนเอง เพื่อให้สินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
    • กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้การศึกษาองค์ประกอบภายในธุรกิจ ในแง่มุมต่างๆของสินค้าหรือบริการของตน โดยมีจุดมุ่งหมายคือการนำเสนอสิ่งที่ตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดจากสิ่งที่ธุรกิจมีอยู่ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ย่อยดังนี้
      • กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
      • กลยุทธ์ราคา
      • กลยุทธ์ช่องทางการกระจายสินค้าและการจัดจำหน่าย
      • กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
ทั้งนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นก่อนที่ผู้ดำเนินธุรกิจจะเลือกใช้กลยุทธ์ใด ผู้ดำเนินธุรกิจจำเป็นจะต้องศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าที่ตนเองต้องการทำการตลาดด้วยก่อน ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้
  1. ต้องเลือกและวิเคราะห์กลุ่มของผู้บริโภคของตนเองอย่างละเอียดชัดเจน (รู้เขา)
  2. วิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดของตนเอง ว่ามีศักยภาพเพียงพอต่อการแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่ (รู้คู่แข่ง)
  3. วางแผนทางด้านผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ดีว่า ตอบความต้องการของลูกค้าได้เพียงพอหรือไม่ อย่างไร (รู้เรา)
ซึ่งถ้าหากผู้ดำเนินธุรกิจนั้นทำการศึกษาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนและรัดกุมแล้วนั้น ผมเชื่อว่าธุรกิจของท่านจะมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งในกลุ่มตลาดเดียวกันได้อย่างแน่นอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น