วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ราคา (Price)

คำว่าราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่สามารถวัดได้โดยรูปของจำนวนเงินเพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือโอนย้ายกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ

โดยมีความสำคัญ ดังนี้

  1. เกิดรายได้จากการขาย
  2. เกิดกำไร
  3. ขยายกิจการ
  4. เพิ่มการผลิต/การจ้างคน
  5. สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
การตั้งราคานั้นประกอบไปด้วยปัจจัย 2 ด้าน ดังนี้
  • ปัจจัยภายใน อันได้แก่ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ต้นทุน ลักษณะผลิตภัณฑ์ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
  • ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ วัตถุดิบ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ รูปแบบการแข่งขันที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นๆ ความต้องการทางจิตวิทยา สภาพเศรษฐกิจ บทบาทของกฏหมายและรัฐบาล
รูปแบบกลยุทธ์การตั้งราคานั้น สามารถแบ่งได้ตามการตั้งราคาและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ดังรูปต่อไปนี้



อ้างอิงจาก http://www.yorku.ca/lripley/zpppricequal.jpg

การตั้งราคานั้นมีรูปแบบนโยบายแบ่งเป็นทั้งสิ้น 6 ชนิด ดังนี้

  1. การตั้งราคาเดียวและหลายราคา
  2. การตั้งราคาสูงและราคาต่ำ
    1. การตั้งราคาสูงใช้กับสินค้าใหม่ สินค้าที่มีการผลิตไม่เพียงพอ สินค้าที่ผู้ขายผูกขาดกับตลาดเพียงผู้เดียว สินค้าที่มีวงจรอายุสั้น
    2. การตั้งราคาต่ำใช้กับสินค้าที่ต้องการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด หรือ ใช้เพื่อสะกัดการขยายตัวของตลาดคู่แข่ง
  3. การตั้งราคาตามจิตวิทยา
    1. ตั้งราคาด้วยเลขคี่ เช่น 19/49/99/1,999
    2. ราคาที่ล่อใจ
    3. ตั้งตามกลุ่มสินค้า
    4. ตั้งตามสินค้าที่มีชื่อเสียง
    5. ตั้งราคาตามความเคยชินของลูกค้า
  4. ตั้งราคาตามระดับราคา
  5. มีการมอบส่วนลด และส่วนยอมให้
    1. ส่วนลดปริมาณ ทั้งแบบสะสม และไม่สะสม "ซื้อครบ 100 ลด 0.5%"
    2. ส่วนลดการค้า "1ชิ้น20 / 3ชิ้น50 "
    3. ส่วนลดเงินสด "จ่ายด้วยเงินสด ลดไปอีก3%"
    4. ส่วนลดตามฤดูกาล "โปรโมชั่นซื้อแอร์วันนี้ รับส่วนลด ประชดหน้าร้อน"
    5. ส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการขาย "ถ้าแจ้งว่ามาจากเวบไซต์ NThai.com รับเลยส่วนลดชาบูคนละ 20 บาท"
    6. ส่วนยอมให้สำหรับโฆษณา "เพียงคุณโทรมาภายใน 10 นาทีนี้ รับฟรีครีมกระชับหนังคอ"
    7. ส่วนยอมให้โดยการนำเอาสินค้าเก่ามาแลก "เพียงนำซองเปล่าของครีมใดก็ได้ มาลดราคาผลิตภัณฑ์โอลี่ ขนาด 1 ลิตรได้อีก 2 บาท"
  6. ตามหลักเกณฑ์ภูมิศาสตร์
    1. ตั้งราคาเท่ากันในอาณาจักรเดียว
    2. ตั้งราคาส่งมอบราคาเดียว
    3. ตั้งราคาแบบ F.O.B.
    4. ตั้งราคา ณ จุดฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น